เมนู

แห่งความพิสดารนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา. คำเป็นต้น
ว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นเทียว. พระเถระกล่าว 98 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด 14 หมวด
แสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 7

ว่าด้วยธรรมหมวด 8



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ด้วย
ประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉตฺตา คือ ไม่แน่นอน ได้แก่
มีสภาพที่ผิด. บทว่า สมฺมตฺตา คือ แน่นอน ได้แก่ มีสภาพที่ถูกโดยชอบ.
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ เรื่อง คือ ที่พึ่งของตนเกียจคร้าน คือของ
คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุของความเกียจคร้าน. หลายบท ว่า กมฺมํ
กตฺตพฺพํ โหติ
ความว่า พึงกระทำกรรมมีการกะจีวรเป็นต้น. หลาย
บทว่า น วิริยํ อารภติ ความว่า ไม่ปรารภ ความเพียร แม้ทั้ง 2 อย่าง.
บทว่า อปฺปตฺตสฺส ความว่า เพื่อบรรลุธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค
และผล ที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า อนธิคตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์
คือการบรรลุธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละ อันตน
ยังมิได้บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์คือการกระทำ
ให้แจ้งธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลนั้น ที่ตนยังไม่

กระทำให้แจ้ง. สองคำนี้ ว่า อิทํ ปฐมํ ได้แก่การนั่งลง ( ด้วยการคิด )
อย่างนี้ว่า เอาเถิด เราจะนอน ดังนี้ จัดเป็นเรื่องของความเกียจคร้านทีแรก.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้ . ก็ถั่วราชมาสอันชุ่มชื่อว่า
มาสาจิตะ ในคำนี้ว่า มาสาจิตํ มญฺเญ ดังนี้. อธิบายว่า เป็นผู้หนัก
เหมือนถั่วราชมาสที่เปียกชุ่ม เป็นของหนักฉะนั้น. สองบทว่า คิลาน-
วุฏฺฐิโต โหติ
ความว่า เป็นไข้หายออกไปทีหลัง. บทว่า อารพฺภวตฺถูนิ
ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้เทียว
แห่งบททั้งหลาย แม้เหล่านั้น.
บทว่า ทานวตฺถูนิ คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺช
ทานํ เทติ
ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน. บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียว
นิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทำสักการะถวายทาน ย่อมไม่
ลำบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่ง
การให้ ด้วยประการฉะนี้. เหตุทั้งหลายมีความกลัวเป็นต้น แม้ในคำเป็นต้น
ว่า ให้ทาน เพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้.
บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคำติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่า
บุคคลผู้นี้ เป็นผู้ไม่ให้ ( ทาน ) เป็นผู้ไม่กระทำ ( สักการะ ) ชื่อว่า
ความกลัว. สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่า
บุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน. สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่า
บุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ ในอนาคต. สองบทว่า สาหุ
ทานํ
ความว่า บุคคลย่อมให้ ( ทาน ) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้
เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือ เป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญแล้ว. หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺต-

ปริกฺขารตฺถํ ทานํ เทติ ความว่า บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ
และเพื่อเป็นบริวารของจิตในสมถะ และวิปัสสนา. จริงอยู่ ทาน ย่อม
กระทำจิตให้อ่อนได้. อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราได้แล้ว.
อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราให้แล้ว. ทานย่อมกระทำ
จิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่า
ทาน). เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การ
ไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์
ทั้งหลายย่อมฟูขึ้น และฟุบลง ด้วยทานและ
วาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.

ก็บรรดาทานทั้ง 8 ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.
บทว่า ทานูปปตฺติโย ความว่า เข้าถึงเพราะทานเป็นปัจจัย. บทว่า
ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. คำว่า อธิฏฺฐาติ เป็นไวพจน์ของคำว่า ทหติ
นั้นนั่นแหละ. บทว่า ภาเวติ แปลว่า ให้เจริญ. สองบทว่า หีเน วิมุตฺตํ
ความว่า หลุดพ้นกามคุณ 5 อันเลว. บทว่า อุตฺตริอภาวิตํ ความว่า
แต่นั้น ไม่อบรมเพื่อต้องการมรรคผลอันยอดเยี่ยม. สองบทว่า ตตฺรูป-
ปตฺติยาสํวตฺตติ
ความว่า บุคคลปรารถนา ( เกิด ) ที่ใด กระทำกุศลไว้
ก็ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อประโยชน์แก่การเกิดในที่นั้น ๆ. บทว่า วีตราคสฺส
ความว่า ผู้มีราคะอันตัดได้เด็ดขาดด้วยมรรค หรือผู้มีราคะอันข่มได้ด้วย

สมาบัติ. จริงอยู่ สัตว์ไม่อาจที่จะเกิดในพรหมโลกได้ด้วยกุศลสักว่าทาน
เท่านั้น. ก็ทานย่อมเป็นเครื่องประดับเป็นบริวารของจิตในสมาธิ และ
วิปัสสนา. บุคคลผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะทานนั้น เจริญพรหมวิหารแล้ว
ย่อมบังเกิดในพรหมโลกได้. เพราะเหตุนั้นท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวไว้ว่า
ของผู้มีราคะไปปราศแล้ว ไม่ใช่ของผู้มีราคะ. บริษัทของกษัตริย์ ชื่อว่า
ขัตติยปริสา (บริษัทของกษัตริย์ ) อธิบายว่า หมู่. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นั่น
เทียว.
ธรรมของโลก ชื่อว่าโลกธรรม. ธรรมดาว่าบุคคลผู้พ้นจากโลก
ธรรมเหล่านั้นไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ยังต้องมีนั่นเทียว. สมจริง
ดังพระดำรัสแม้ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการ
เหล่านี้ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก และโลกก็ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก
ธรรม 8 ประการดังนี้. สองบทว่า ลาโภ อลาโภ บัณฑิตพึงทราบว่า
ครั้นเมื่อลาภมา ความไม่มีลาภก็มาด้วยนั่นเทียว. แม้ใน ยศ เป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน. กถาว่าด้วยอภิภายตนะและวิโมกข์ ท่านกล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแล. คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบ
โดยนัยดังที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. พระเถระกล่าวปัญหา 88 ปัญหาด้วย
สามารถแห่งหมวดแปด 11 หมวด แสดงสามัคคีรสแล้วด้วยประการ
ฉะนั้นแล.
จบหมวด 8

ว่าด้วยธรรมหมวด 9



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปดด้วย
ประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า จึง
ปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาฆาตวตฺถูนิ แปลว่า เหตุแห่งความ
อาฆาต. สองบทว่า อาฆาตํ พนฺธติ ความว่า ผูกไว้คือกระทำได้แก่
ยังความโกรธให้เกิดขึ้น. หลายบทว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า
การประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น อย่าได้มีแล้ว เพราะเหตุนั้น อัน
บุคคลพึงได้จากที่ไหน คืออาจเพื่อจะได้ด้วยเหตุอะไรในบุคคลนี้. บุคคล
คิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุคคลอื่น ย่อมกระทำความฉิบหายตามความพอใจ
แห่งจิตของตนแก่บุคคลอื่น ดังนี้ ย่อมบรรเทาความอาฆาตได้. อีกอย่างหนึ่ง.
อธิบายว่า ถ้าว่า เราพึงกระทำความโกรธตอบไซร้ การกระทำความโกรธ
นั้นอันเราพึงได้แต่ที่ไหนในบุคคลนี้ หรือพึงได้ด้วยเหตุอะไร. บาลีว่า
กุโต ลาภา ดังนี้ก็มี. ถ้าว่า เราพึงกระทำความโกรธ ในบุคคลนี้ไซร้
ธรรมดาว่า ลาภอันเราได้แต่ที่ไหนในการกระทำความโกรธของเรานั้น
อธิบายว่า ลาภเหล่าไหนพึงมี. ก็ในอรรถนี้ ศัพท์ว่า ตํ เป็นเพียงนิบาต
เท่านั้น.
บทว่า สตฺตาวาสา ได้แก่ ถิ่นเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า
ที่เป็นที่ยู่. บรรดาสัตตาวาสเหล่านั้น แม้สุทธาวาสทั้งหลายก็จัดเป็น
สัตตาวาสเหมือนกัน แต่ว่า ท่านมิได้จัดไว้ เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาล